ผู้เขียน หัวข้อ: บริหารจัดการอาคาร: การทดสอบระบบท่อประปาก่อนใช้งานจริงให้ถูกต้องและปลอดภัยที่สุด  (อ่าน 109 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 430
    • ดูรายละเอียด
บริหารจัดการอาคาร: การทดสอบระบบท่อประปาก่อนใช้งานจริงให้ถูกต้องและปลอดภัยที่สุด

การทดสอบระบบท่อประปานั้น เราจะแบ่งออกเป็น 2 ระบบ คือ การทดสอบระบบท่อประปาภายนอกอาคาร และการทดสอบระบบภายในอาคาร ไม่ว่าจะระบบไหน ล้วนเป็นการป้องการความเสี่ยงจากอันตรายที่จะเกิดขึ้นตามมาในอนาคต ดังนั้น เราจึงต้องให้ความสำคัญต่อเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ อย่างการรั่วซึม การแตกหัก หรือการชำรุดของท่อให้มาก


การทดสอบประปาภายนอกอาคาร

การทดสอบประปานั้น โดยปกติแล้วจะมีการทำเป็นช่วง หลังจากที่ได้วางท่อประปาพร้อมติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ และได้มีการเทคอนกรีตรับท่อโค้งสามทางเรียบร้อยแล้วไม่น้อยกว่า 36 ชั่วโมง ซึ่งโดยทั่วไปท่อประปาที่วางใหม่จะต้องทดสอบความดันในท่อและทดสอบการรั่วซึมของท่อไปพร้อมกัน ตามขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้


ขั้นตอนการทดสอบความดันน้ำและการรั่วซึมของท่อประปาภายนอกอาคาร

1.    ค่อย ๆ เติมน้ำเข้าเส้นท่อประปาที่วางใหม่อย่างช้า ๆ จนเต็มท่อก่อนล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง

2.    ไล่อากาศออกจากเส้นท่อ วาล์ว หัวดับเพลิง และอุปกรณ์ท่อต่าง ๆ ทั้งหมด

3.    อัดความดันด้วยวิธีการและเครื่องมือที่เหมาะสมตามที่เห็นสมควร ขนาดความดันที่ใช้ทดสอบท่อประปาขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 500 มม. ถึง 1,800 มม. ให้ใช้ความดันไม่น้อยกว่า 0.8 เมกาปาสกาล หรือ 8 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร และท่อประปาขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 400 มม. ลงมาให้ใช้ความดันไม่น้อยกว่า 0.6 เมกาปาสกาล หรือ 6 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร โดยต้องคงความดันนี้ไว้ให้คงที่เสมอ ไม่น้อยกว่าสองชั่วโมง และมาตรวัดความดันที่นำมาใช้จะต้องผ่านการสอบเทียบเครื่องมือเรียบร้อยแล้วด้วยเช่นกัน

4.    ตรวจสอบการรั่วซึมของท่อประปาและข้อต่อ หากตรวจพบว่ามีการรั่วซึมของท่อ ให้ดำเนินการซ่อมแซมหรือเปลี่ยนใหม่ให้เรียบร้อย เพื่อที่จะทำการทดสอบความดันน้ำและการรั่วซึมอีกครั้งหนึ่ง จนกว่าจะได้ผลเป็นที่พอใจ


การทดสอบประปาภายในอาคาร

การทดสอบประปาภายในอาคารนั้น จะมีการทำเป็นช่วง ๆ เช่นกัน ท่อประปาที่ฝังไว้ใต้ดินหรือในผนังจะต้องมีการทดสอบการรั่วซึมของน้ำก่อนกลบดิน หรือฉาบปูนปิดเสียก่อน ตามขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้

ขั้นตอนการทดสอบความดันน้ำและการรั่วซึมของท่อประปาภายในอาคาร

-    ปิดก๊อกน้ำต่าง ๆ เพื่อไม่ให้น้ำไหลทิ้งออกจากระบบท่อประปา
-    ให้ใช้น้ำที่มีคุณภาพตามมาตรฐานน้ำดื่มอัดเข้าไปในระบบท่อประปา โดยที่มีความดันสูงกว่าความดันใช้งานปกติประมาณร้อยละ 50 ระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 6 ชั่วโมง
-    ดำเนินการตรวจสอบหารอยรั่วซึมของน้ำในระบบท่อ
-    หากผลการตรวจสอบหรือทดสอบปรากฎว่ามีท่อรั่วซึมหรือชำรุด ไม่ว่าสาเหตุจะมาจากคุณภาพวัสดุ หรือฝีมือการติดตั้ง จะต้องแก้ไขหรือเปลี่ยนใหม่โดยทันที
-    ให้ทดสอบท่อรั่วซึมใหม่อีกครั้งจนกว่าจะมั่นใจว่าระบบท่อประปาที่ติดตั้งสามารถใช้งานอย่างถูกต้องแล้ว โดยการซ่อมท่อไม่ควรใช้วิธีการปะปิดรอยรั่วเป็นอันขาด เพราะเสี่ยงที่จะเกิดการรั่วซึมขึ้นใหม่ในอนาคต ทางที่ดีที่สุดจึงเป็นการถอดและต่อใหม่ หรือเปลี่ยนใหม่แทน

 

 

ลงประกาศฟรี โฆษณาฟรี ลงประกาศขายบ้านฟรี ลงประกาศขายบ้าน ขายที่ดิน ขายคอนโด ขายรถ สินค้าอุตสาหกรรม อาหารเสริม เครื่องสำอางค์ แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว โปรโมทสินค้าฟรี เว็บประกาศฟรี ติดอันดับ Google