ผู้เขียน หัวข้อ: เจ็บหน้าอกแบบไหน เสี่ยงเป็นโรคหัวใจกันแน่?  (อ่าน 107 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 433
    • ดูรายละเอียด
ทุกครั้งที่มีอาการเจ็บหน้าอก คนส่วนใหญ่ก็มักนึกถึง “โรคหัวใจ” เป็นอันดับแรก โดยเฉพาะอาการเจ็บหน้าอกที่มีอาการเหนื่อยหอบร่วมด้วยอาจเป็นสัญญาณของโรคหัวใจก็เป็นได้ หากคุณเป็นคนหนึ่งที่กังวลว่าตัวเองหรือคนใกล้ตัวอาจมีความเสี่ยงของโรคหัวใจ อย่ามัวแต่คิด… มาตรวจเช็กให้แน่ใจกันดีกว่าว่า อาการเจ็บหน้าอกแบบไหนที่เป็นอาการของ “โรคหัวใจ” กันแน่!!

 
เจ็บหน้าอกด้านซ้ายบ่อย อาจไม่ใช่โรคหัวใจเสมอไป

แม้ว่าอาการเจ็บหน้าอกแบบแน่นๆ จุกเหมือนมีอะไรมาทับบริเวณหน้าอกด้านซ้ายค่อนมาตรงกลาง หรือมีอาการร้าวไปที่แขนจะเป็นอาการที่มักเจอในโรคหัวใจ แต่ก็ไม่ได้บ่งชี้ว่านั่นเป็นอาการของโรคหัวใจร้อยเปอร์เซ็นต์ หรือบางคนมีอาการเจ็บแบบจุกเสียดเหมือนอาหารไม่ย่อย เจ็บลิ้นปี่ อาจฟันธงไม่ได้ว่าเป็นโรคหัวใจ


ทั้งนี้บริเวณหน้าอกด้านซ้ายนอกจากจะเป็นตำแหน่งของหัวใจแล้ว ยังมีกล้ามเนื้อหัวใจ กระดูกซี่โครงอ่อน และเส้นประสาทอยู่จำนวนไม่น้อย ถ้าเราทำกิจกรรมหรือออกกำลังกายหักโหมมากจนเกินไป หรือทรงตัวผิดท่าก็อาจทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอกแปล๊บๆ จี๊ดๆ ขึ้นมาได้เหมือนกัน


ซึ่งการวินิจฉัยโรคหัวใจต้องพิจารณาอาการอื่นร่วม เช่น อาการใจสั่น หน้ามืด เวียนหัว เป็นลม รวมถึงกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง หรือเบาหวาน เป็นต้น

 
เจ็บแน่นหน้าอก…เพราะเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอ

จริงๆ แล้วภาวะเจ็บแน่นหน้าอกจากโรคหัวใจ คือภาวะโรคของหลอดเลือดหัวใจที่มีหลอดเลือดตีบแคบลง ส่งผลทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอ ทำให้เกิดมีอาการเจ็บหน้าอก โดยจะมีลักษณะเฉพาะ คือ มีอาการเจ็บแน่นบริเวณกึ่งกลางหน้าอก อาจเจ็บร้าวไปที่คอ หลังหรือแขนข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้าง นอกจากนี้อาจมีอาการ เหงื่อแตก คลื่นไส้ อ่อนเพลีย ใจสั่น ร่วมด้วย

 
สัญญาณเตือน “โรคหัวใจ” มีอาการเหล่านี้ควรรีบพบแพทย์

    เจ็บหน้าอก ลักษณะของอาการจะเป็นแบบแน่นๆ จุกๆ เหมือนมีอะไรมากดทับบิเวณหน้าอก บางรายอาจมีอาการร้าวไปยังแขน
    รู้สึกเหนื่อยง่าย หอบ หายใจเร็ว บางรายอาจมีอาการถึงขั้นไม่สามารถพูดได้ หรืออาจมีเสียงดังเวลาหายใจ
    มักมีอาการที่หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ หรือเต้นไม่สม่ำเสมอ ส่งผลให้อาการใจสั่น โดยอาจเกิดร่วมกับอาการแน่นหน้าอก เหนื่อยหอบ หน้ามืด หรือเป็นลมได้
    ขาบวม  เกิดจากการที่เลือดที่ขาไม่สามารถไหลไปยังหัวใจด้านขวาได้เนื่องจากการอุดตัน ดังนั้นเลือดที่ค้างอยู่จะส่งผลให้ขามีอาการบวมผิดปกติ
    หน้ามืด วูบ เป็นลม โดยในทางการแพทย์การหมดสติ หรือเกือบหมดสติชั่วขณะนั้นอาจเกิดจากภาวะหัวใจหยุดเต้น

 
ตรวจให้รู้ว่าเป็น “โรคหัวใจ” หรือไม่?

เบื้องต้นแพทย์จะทำการซักประวัติอาการเจ็บป่วยต่างๆ ที่พึงสงสัย รวมทั้งปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ของผู้ป่วย จากนั้นจะทำการตรวจร่างกายทั่วไปทุกระบบของร่างกาย รวมทั้งระบบหัวใจและหลอดเลือด ฟังการเต้นของหัวใจ วัดความดันโลหิต ตรวจเอกซเรย์ทรวงอก และตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) และทำการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise Stress Test: EST) สำหรับผู้ที่ไม่พร้อมในการวิ่งสายพาน จะเป็นการตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiography)

 
โรคอะไรบ้างที่ทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอกได้

อันที่จริงแล้วอาการเจ็บหน้าอก อาจไม่ได้เป็นอาการของโรคหัวใจเสมอไป แต่ยังมีโรคอื่นๆ ที่ทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอกโดยที่ไม่ได้เกิดจากโรคหัวใจอีก เช่น กรดไหลย้อน การมีลิ่มเลือดอุดตันในปอด การอักเสบของตับอ่อน โรคหอบ การบาดเจ็บของกระดูกซี่โครงหรือมีรอยช้ำ หรือกระดูกหัก เป็นต้น

เราทุกคนควรหมั่นสังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกาย เพราะ “หัวใจ” เป็นเรื่องใหญ่ เมื่อเกิดความผิดปกติควรรีบมาพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้


เจ็บหน้าอกแบบไหน เสี่ยงเป็นโรคหัวใจกันแน่? อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://doctorathome.com/disease-conditions/252

 

ลงประกาศฟรี โฆษณาฟรี ลงประกาศขายบ้านฟรี ลงประกาศขายบ้าน ขายที่ดิน ขายคอนโด ขายรถ สินค้าอุตสาหกรรม อาหารเสริม เครื่องสำอางค์ แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว โปรโมทสินค้าฟรี เว็บประกาศฟรี ติดอันดับ Google