คนที่ใช้ร่างกายอย่างหนัก พักผ่อนน้อย มีภาวะเครียดสะสมจนเกิดภาวะสมองล้า ในระยะสั้นจะส่งผลให้ความจำ ส่วนในระยะยาวอาจทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน โรคความจำเสื่อมก่อนวัยได้
ความเครียดสะสมยาวนาน สามารถกระตุ้นโรคต่างๆได้ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคสมองเสื่อม โรคซึมเศร้า และโรคมะเร็ง
สมองมีหน้าที่ควบคุมและสั่งการ การเคลื่อนไหว พฤติกรรม และภาวะธำรงดุล (homeostasis หรือ การรักษาดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต) เช่น การเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต สมดุลของเหลวในร่างกายและอุณหภูมิ เป็นต้น นอกจากนั้นยังเกี่ยวข้องกับการรับรู้ อารมณ์ ความจำ การเรียนรู้การเคลื่อนไหวและความสามารถอื่นๆ สมองของมนุษย์นั้นมีความพิเศษกว่าสัตว์ตรงที่ว่ามีความซับซ้อนในการคิดด้วยเหตุผลทั้งในแง่รูปธรรมและนามธรรม
แต่เมื่ออายุเพิ่มขึ้น ประสิทธิภาพของสมองจะลดลง หลายครั้งที่เรามักจะพบว่า คนที่ใช้ร่างกายอย่างหนัก พักผ่อนน้อย มีภาวะเครียดสะสมจนเกิดภาวะสมองล้า ในระยะสั้นจะส่งผลให้ความจำและการทำงานของสมองลดลง ส่วนในระยะยาวอาจทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน โรคความจำเสื่อมก่อนวัยได้ จนอาจเป็นภาระของคนในครอบครัว ดังนั้นการใส่ใจดูแลสมองแต่เนิ่นๆ จะช่วยให้เราห่างไกลโรคเหล่านี้ได้
ทำงานหนัก เครียดเกินไป ทำให้สมองล้า
หากมีอาการนอนไม่หลับ อ่อนเพลียบ่อย ปวดศีรษะเรื้อรัง หงุดหงิดง่าย หลงลืมง่าย คิดหรือตัดสินสิ่งต่างๆ ได้ช้าลง นั่นอาจเป็นสัญญาณของภาวะสมองล้า (Brain Fog Syndrome) ซึ่งเป็นภาวะเครียดโดยไม่รู้ตัวจากการที่สมองถูกใช้งานอย่างหนักเป็นระยะเวลานาน ประกอบกับการพักผ่อนน้อย หรืออยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือนานเกินไป สมองจึงเกิดอนุมูลอิสระทำลายเซลล์ประสาทหรือขัดขวางการทำงานของสมอง และหลายครั้งที่ความเครียดสะสมยาวนาน สามารถกระตุ้นโรคต่างๆ ได้ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคสมองเสื่อม โรคซึมเศร้า และโรคมะเร็ง
ภาวะ "ต่อมหมวกไตล้า" จากความเครียด
หากมีอาการเหล่านี้อย่างน้อย 5 อย่าง อาจแสดงว่าต่อมหมวกไตเริ่มมีปัญหา
ขี้เกียจตื่นนอนตอนเช้า
อ่อนเพลีย ไม่มีแรง อยากงีบหลับช่วงกลางวัน
ง่วงแต่นอนไม่หลับ
อยากทานแต่ของหวานและของเค็ม
ปัสสาวะบ่อยผิดปกติ
ภูมิแพ้กำเริบบ่อยๆ
ท้องอืด อาหารไม่ย่อย ท้องผูก
เครียดและซึมเศร้า
ออกกำลังกายเป็นประจำแต่น้ำหนักไม่ลดลง
ผิวแห้งและแพ้ง่าย
เหล่านี้เป็นอาการผิดปกติของร่างกายเมื่อมีความเครียดเรื้อรังเป็นตัวกระตุ้น ปกติแล้ว ภาวะต่อมหมวกไตล้า จะมีความเกี่ยวข้องกับฮอร์โมน 2 ตัว ที่มีชื่อว่า คอร์ติซอล (Cortisol) และ ดีเอชอีเอ (Dyhydroepiandrosterone-DHEA)
Cortisol คือฮอร์โมนความเครียดตัวหลักของร่างกาย (Stress hormone) ปกติร่างกายจะหลั่งออกมาปริมาณมากที่สุดในตอนเช้า ช่วยให้เรารู้สึกสดชื่น มีพลัง ซึ่งจะลดลงเหลือเพียง 10% ในช่วงเย็น ในเวลาคับขัน Cortisol ยังมีหน้าที่กระตุ้นให้ความดันโลหิตสูงขึ้นและอัตราการเต้นหัวใจเพิ่มขึ้น เพื่อเตรียมพร้อมร่างกายให้ต่อสู้กับปัญหาข้างหน้า แต่ถ้าเรามีความเครียดสะสมเรื้อรัง ระดับ Cortisol ที่สูงขึ้นจะทำให้ร่างกายเสื่อมและเกิดโรคต่างๆ ตามมา
อาหารสุขภาพ เสริมเพิ่มพลังสมอง หลังเรียน-ทำงานหนัก อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://thetastefood.com/