ผู้เขียน หัวข้อ: ขั้นตอนการสร้างแบรนด์ เพิ่มมูลค่าให้สินค้าในยุคดิจิทัล  (อ่าน 118 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 506
    • ดูรายละเอียด
การสร้างแบรนด์ คือ พันธกิจสำคัญสำหรับธุรกิจที่สร้างขึ้นใหม่ เพื่อทำให้กลุ่มเป้าหมายรู้จักและยินดีที่จะเปิดใจซื้อสินค้าและบริการ ตัวอย่างการสร้างแบรนด์มีอยู่ด้วยกันหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการสร้างคอนเทนต์ลงบน Social Media การผลิตชิ้นงานโฆษณาทางทีวี หรือแม้แต่การคิดค้นโปรโมชันพิเศษที่ดึงดูดใจ ในบทความนี้ Digital Tips จะพาคุณไปหาคำตอบว่า Branding Strategy คืออะไร และวิธีสร้างแบรนด์ให้ได้ผลต้องทำอย่างไร มาศึกษาเรื่องนี้ไปพร้อม ๆ กัน!


การสร้างแบรนด์ คืออะไร

การสร้างแบรนด์ (หรือที่บางท่านเรียกว่า แบรนด์ดิ้ง) คือ การที่แบรนด์หาวิธีสื่อสารให้สาธารณชนทราบว่า ตัวตน เป้าหมาย และวิสัยทัศน์ของแบรนด์เป็นอย่างไร เพื่อสร้างภาพจำและจุดประกายความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค ซึ่งในขั้นตอนการสร้างแบรนด์นั้น เจ้าของธุรกิจจำเป็นต้องมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับทฤษฎีการตลาดบางทฤษฎีด้วย อาทิ Branding Strategy, 4P หรือ SWOT โดยเฉพาะ SWOT ซึ่งเป็นเครื่องมือวิเคราะห์ธุรกิจที่เห็นภาพชัดเจนที่สุด

   
หากคุณกำลังสร้างแบรนด์ของตัวเอง และต้องการศึกษาเรื่อง SWOT เพิ่มเติม – อ่านต่อได้ที่ ​​SWOT คืออะไร (SWOT Analysis) ตัวอย่างการวิเคราะห์ธุรกิจในปัจจุบัน

การสร้างแบรนด์ ดีต่อธุรกิจอย่างไร

ก่อนจะลงมือสร้างแบรนด์อย่างจริงจัง Digital Tips อยากให้คุณเห็นภาพก่อนว่า การสร้างแบรนด์ดีต่อธุรกิจอย่างไร และทำไมเจ้าของธุรกิจเช่นคุณจึงต้องให้ความสำคัญ


1. สร้างการรับรู้ให้กับลูกค้าว่า “คุณอยู่ตรงนี้”

มีโอกาสน้อยมากที่สินค้าและบริการของคุณจะไม่ซ้ำกับคนอื่น ดังนั้น เมื่อลูกค้าคิดจะซื้อสินค้าหรือบริการประเภทนั้น ๆ พวกเขาจึงค้นพบตัวเลือกมากกว่า 1 เสมอ ด้วยเหตุนี้เอง การสร้าง Brandingจึงสำคัญ เพราะเป็นกลยุทธ์การตลาดเดียวที่จะทำให้ลูกค้าทราบว่า ในหมู่ธุรกิจประเภทนี้มีแบรนด์ของคุณอยู่ด้วย 


2. สร้างความน่าเชื่อถือ

ลองคิดในมุมของลูกค้า หากคุณกำลังดูน้ำผลไม้ 2 ขวดที่วางคู่กันอยู่บนเชลฟ์ ขวดหนึ่งเขียนเพียงว่าเป็นน้ำผลไม้ 100% ในขณะที่อีกขวดเห็นความสำคัญของการสร้างแบรนด์สินค้า จึงคิดโลโก้ เลือกสี รูปภาพ ฟอนต์ และปรินท์ออกมาเป็นฉลากติดรอบขวดอย่างมืออาชีพ คุณจะมองว่าน้ำผลไม้ขวดใดมีแหล่งผลิตที่น่าเชื่อถือ และควรซื้อมากกว่ากัน


3. กระตุ้นให้เกิดการบอกต่อ

การสร้างแบรนด์จะทำให้ลูกค้าทราบว่า “คุณคือใคร และพวกเขาควรเรียกคุณว่าอย่างไร” นั่นทำให้เมื่อพวกเขาประทับใจในสินค้า พวกเขาก็จะสามารถเอ่ยชื่อแบรนด์ของคุณ เพื่อแนะนำให้กับคนรอบตัวอย่างมั่นใจ และทำให้แบรนด์ของคุณเป็นรู้จักมากขึ้นนั่นเอง


4. นำหน้าคู่แข่งอยู่ 1 ก้าวเสมอ

สิ่งที่สำคัญสำหรับทุกธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจที่ทราบดีว่าตัวเองมีคู่แข่ง นั่นคือ การสร้างแบรนด์ ซึ่งเน้นการสร้างภาพจำ ให้แบรนด์ของตนมีเอกลักษณ์แตกต่างกับคู่แข่ง ดังนั้น ธุรกิจที่สร้างแบรนด์ได้อย่างแข็งแกร่ง จึงถือว่าได้ก้าวไปไกลกว่าคู่แข่ง 1 ก้าวแล้ว


5. สร้างฐานลูกค้าที่ภักดีต่อแบรนด์

เมื่อลูกค้าเชื่อมั่นในตัวแบรนด์มากจนถึงระดับหนึ่งแล้ว พวกเขาก็จะเต็มใจเลือกสินค้าและบริการของแบรนด์นั้น ๆ จนถือได้ว่าเป็นลูกค้าประจำที่ภักดีต่อแบรนด์ และมีรายชื่ออยู่ในลิสต์ลูกค้า ที่แบรนด์จะเลือกมาเป็นกลุ่มเป้าหมายในการทำการตลาด เช่น คอนเทนต์บน Facebook, Instragram หรือการทำ SEO เป็นต้น


6. เพิ่มโอกาสในการต่อยอดธุรกิจ

นอกจากจะได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าแล้ว ธุรกิจที่สร้างแบรนด์สำเร็จ ย่อมจะได้รับความเชื่อใจจากพาร์ทเนอร์และคู่ค้ามากมายในตลาดด้วย จึงกล่าวได้ว่า การสร้างแบรนด์ธุรกิจนั้น เพิ่มโอกาสในการต่อยอดธุรกิจของคุณในอนาคตด้วย


5 ขั้นตอนการสร้างแบรนด์

เมื่อทำความรู้จักกับการสร้างแบรนด์จนครอบคลุมแล้ว ขั้นตอนต่อไป คือการลงมือสร้างแบรนด์ โดยใช้การทำ Digital Marketing ประกอบด้วย ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้


ขั้นตอนที่ 1 : ทำ Market Research

มาเริ่มต้นกันที่การเก็บข้อมูล ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ข้อมูลของตลาดและข้อมูลของกลุ่มเป้าหมาย

    ข้อมูลของตลาด: ศึกษาดูว่า แบรนด์ใดบ้างที่ประกอบธุรกิจแบบเดียวกับคุณ พวกเขาเป็นบริษัทใหญ่แค่ไหน เปิดทำการมานานเท่าไหร่ กลุ่มลูกค้าของพวกเขามักเป็นใคร พวกเขาทำการตลาดผ่านช่องทางใดบ้าง ฯลฯ โดยสามารถค้นหาข้อมูลได้หลายวิธี เช่น ในหน้า Google Search, Social Media, การเข้าร่วมงานอีเวนต์ เป็นต้น ทั้งนี้ เมื่อได้ข้อมูลมาแล้ว แนะนำให้ลองจัด Brand Positioning เพื่อให้คุณเห็นภาพว่า “คุณอยู่อันดับไหนเมื่อเทียบกับคู่แข่ง”

    ข้อมูลของกลุ่มเป้าหมาย: หัวใจสำคัญของ Branding Strategy คือ กลุ่มเป้าหมาย – แนะนำให้คุณลองวิเคราะห์ว่ากลุ่มเป้าหมายของคุณจะเป็นใครได้บ้าง ผ่านการศึกษาข้อมูลลูกค้าของคู่แข่ง ก่อนนำมาจัดกลุ่มตามเทคนิค STP Marketing เพื่อการมองเห็นกลุ่มเป้าหมายตัวจริงที่ชัดเจนยิ่งขึ้น

ขั้นตอนที่ 2 : วางแผนทำ Brand Strategy

เมื่อบันทึกและจัดกลุ่มข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไป คือ การวางแผนทำ Brand Strategy ลองวิเคราะห์ว่า จุดเด่นที่ทำให้คุณแตกต่างกับคู่แข่งคืออะไร แบรนด์ของคุณสามารถบรรเทาปัญหาอะไรของผู้บริโภคได้บ้าง และคุณจะแสดงตัวตนของแบรนด์ให้กลุ่มเป้าหมายทราบได้อย่างไร


ขั้นตอนที่ 3 : การสร้าง Brand Identity

หลังจากวางเป้าหมายด้วย Brand Strategy แล้ว ก็มาถึงขั้นตอนที่สำคัญที่สุดของการสร้างแบรนด์ นั่นคือ การออกแบบอัตลักษณ์แบรนด์ ให้เป็นที่จดจำของผู้คน ผ่าน 3 องค์ประกอบหลัก ๆ ดังนี้


กำหนดบุคลิกภาพของแบรนด์

ลองสมมติว่าแบรนด์ของคุณคือคนหนึ่งคน หากคุณต้องการจะสร้างคน ๆ นี้ขึ้นมาใหม่ คุณอยากให้เขามีบุคลิกภาพแบบไหน เช่น เป็นคนสุขุม เยือกเย็น จริงจัง หรือเป็นคนใจดี ขี้เล่น เป็นมิตร บุคลิกภาพเหล่านี้สะท้อนออกมาผ่านวิธีสร้างแบรนด์ได้ ผ่านการเลือกใช้สี ฟอนต์ การเลือกใช้คำ หรือแม้แต่โทนของสื่อโฆษณาที่จะนำเสนอสู่สาธารณชน


กำหนดแนวทางการพูดคุยของแบรนด์

การตั้งรับกับการสื่อสาร ก็เป็นอีกพาร์ทหนึ่งของขั้นตอนการสร้างแบรนด์เช่นเดียวกัน ลองคิดดูว่าหากจำเป็นต้องมีการสื่อสารระหว่างแบรนด์กับสื่อมวลชน หรือกับสาธารณชนที่มีข้อสงสัย แบรนด์จะสื่อสารด้วยภาษาอย่างไร หรือจะตอบคำถามผ่านแพลตฟอร์มไหน เป็นต้น


สร้างเรื่องราวของแบรนด์

เรื่องราวเบื้องหลังจะทำให้คนรู้สึกเชื่อมั่นในแบรนด์มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แบรนด์ที่เริ่มต้นจากธุรกิจเล็ก ๆ จนค่อย ๆ ประสบความสำเร็จและขยายธุรกิจให้ใหญ่ขึ้น เพราะเรื่องราวเช่นนี้จะเล่นกับอารมณ์ของผู้ชม และสร้างความประทับใจได้ดีที่สุด


ขั้นตอนที่ 4 : การวาง Style Guide

การออกแบบสี โลโก้ ฟอนต์ เพื่อการสร้างBranding

อาจกล่าวได้ว่า Brand Identity คือ ปัจจัยที่เป็นนามธรรม แต่สำหรับการวาง Style Guide นั้น ถือเป็นเรื่องที่เป็นรูปธรรมชัดเจน ปัจจุบันการวาง Style Guide คือ ขั้นตอนที่สำคัญในการสร้างแบรนด์ธุรกิจดิจิทัล เพราะเกี่ยวพันกับงานกราฟิก ซึ่งจำเป็นต่อการผลิตชิ้นงานโฆษณาลงแพลตฟอร์มออนไลน์


ตั้งชื่อและสร้างโลโก้

แนะนำให้ตั้งชื่อที่สื่อถึงผลิตภัณฑ์หรือตัวตนของแบรนด์ เพื่อให้คนจดจำแบรนด์ได้ และดีไซน์โลโก้ที่สื่อถึงชื่อแบรนด์โดยตรง สื่อสารไว เข้าใจง่าย ที่สำคัญต้องพยายามออกแบบให้ไม่ซ้ำใคร เพื่อป้องกันการสับสนกับแบรนด์อื่น ๆ


สร้างสีและรูปแบบแบรนด์

แนะนำให้เลือกใช้สีโดยคำนึงถึงประเภทของผลิตภัณฑ์ และบุคลิกภาพของแบรนด์ หากเป็นไปได้ ให้เลือกสีธีมของแบรนด์ไม่เกิน 2 สี เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถจดจำได้ง่าย ๆ ไม่เพียงแต่เรื่องสีเท่านั้น การเลือกใช้ฟอนต์ก็เช่นกัน บ่อยครั้งที่การสร้างแบรนด์บรรลุเป้าหมาย เพราะเลือกใช้ฟอนต์ที่อ่านง่ายและดูเป็นมืออาชีพ จนสามารถทำให้คนเชื่อมั่นในแบรนด์ได้สำเร็จ


ขั้นตอนที่ 5 : เริ่มต้นทำ Brand Awareness

ปลายทางของการสร้างแบรนด์ธุรกิจ ก็คือการสร้าง Brand Awareness หรือความตระหนักในตัวแบรนด์ ซึ่งในส่วนนี้เองที่จะต้องใช้เทคนิคทาง Digital Marketing เข้าช่วย อาทิ การทำ SEO การทำ Remarketing ไปยังลูกค้ากลุ่มเดิม หรือการยิงแอดโฆษณาให้ตรงกลุ่มเป้าหมายใน Social Media เช่น Facebook, Instagram, LINE, TikTok เป็นต้น


ขั้นตอนการสร้างแบรนด์ เพิ่มมูลค่าให้สินค้าในยุคดิจิทัล  อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://businesssmarttools.com/

 

ลงประกาศฟรี โฆษณาฟรี ลงประกาศขายบ้านฟรี ลงประกาศขายบ้าน ขายที่ดิน ขายคอนโด ขายรถ สินค้าอุตสาหกรรม อาหารเสริม เครื่องสำอางค์ แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว โปรโมทสินค้าฟรี เว็บประกาศฟรี ติดอันดับ Google