ผู้เขียน หัวข้อ: doctor at home: กรดไหลย้อน (GERD)  (อ่าน 117 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 433
    • ดูรายละเอียด
doctor at home: กรดไหลย้อน (GERD)
« เมื่อ: 20 สิงหาคม 2024, 21:49:30 pm »
doctor at home: กรดไหลย้อน (GERD)

กรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease: GERD) เป็นภาวะที่กรดหรือน้ำย่อยในกระเพาะไหลย้อนกลับมาในหลอดอาหาร จนทำให้เกิดการอักเสบของหลอดอาหาร โดยผู้ป่วยจะรู้สึกแสบร้อนกลางอก เรอเปรี้ยว และคลื่นไส้

สาเหตุสำคัญหนึ่งมาจากพฤติกรรมการกินอาหารที่ไม่ถูกต้องและการใช้ชีวิตที่เร่งรีบในสภาพสังคมปัจจุบัน หากปล่อยให้เกิดอาการเรื้อรังและรักษาด้วยวิธีที่ไม่ถูกต้อง อาจนำไปสู่การเกิดหลอดอาหารอักเสบ แผลที่หลอดอาหาร หรือหลอดอาหารตีบ ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งหลอดอาหารได้ แม้โอกาสเกิดจะไม่มากนักก็ตาม


สาเหตุของกรดไหลย้อน

กรดไหลย้อนเกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของกล้ามเนื้อหูรูดบริเวณส่วนปลายของหลอดอาหาร (Lower Esophageal Sphincter: LES) ทำให้กรดหรือน้ำย่อยภายในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นมาบริเวณหลอดอาหารจนสร้างความระคายเคืองกับผนังของหลอดอาหาร

นอกจากนี้ พฤติกรรมในชีวิตประจำวันหรือโรคบางชนิดมีส่วนกระตุ้นการทำงานของหลอดอาหารให้เกิดความผิดปกติได้ หรือทำให้กระเพาะอาหารหลั่งกรดในปริมาณมากขึ้น เช่น

    เข้านอนหลังรับประทานอาหารทันที
    สูบบุหรี่
    ดื่มน้ำอัดลมหรือแอลกอฮอล์
    รับประทานอาหารปริมาณมากภายในมื้อเดียว
    เป็นโรคอ้วน
    อยู่ในช่วงตั้งครรภ์

โดยพฤติกรรมเหล่านี้ล้วนส่งผลให้เกิดภาวะกรดไหลย้อนได้ง่ายขึ้นเช่นกัน

อาการของกรดไหลย้อน

ผู้ที่มีภาวะกรดไหลย้อนมักจะพบอาการในลักษณะดังต่อไปนี้ ได้แก่

    รู้สึกจุกเสียดบริเวณใต้ลิ้นปี่
    ปวดแสบปวดร้อนบริเวณอกบ่อยครั้ง
    มีอาการจุกเสียดแน่นคล้ายอาหารไม่ย่อย
    เรอบ่อย
    คลื่นไส้
    มีน้ำรสเปรี้ยวหรือขมไหลย้อนขึ้นมาในปากและคอ
    กลืนอาหารได้ลำบาก

ในบางรายที่เป็นเรื้อรังอาจพบอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ไอเรื้อรัง รู้สึกระคายเคืองคอตลอดเวลา เสียงแหบแห้ง หรือฟันผุ
สัญญาณสำคัญของกรดไหลย้อนที่ควรไปพบแพทย์

ผู้ที่เห็นว่าตนเองเริ่มมีอาการที่เข้าข่ายภาวะกรดไหลย้อน หรือลองใช้ยารักษากรดไหลย้อนแล้วอาการต่าง ๆ ยังไม่ดีขึ้น ควรไปพบแพทย์เพื่อรับตรวจตรวจตั้งแต่เนิ่น ๆ โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการเจ็บหน้าอก หายใจไม่อิ่ม ปวดแขน และปวดขากรรไกรร่วมด้วย


การวินิจฉัยอาการกรดไหลย้อน

แพทย์จะวินิจฉัยภาวะกรดไหลย้อนในกรณีทั่วไปจากการชักประวัติและอาการของผู้ป่วยเป็นหลัก ทั้งนี้แพทย์อาจพิจารณาการตรวจพิเศษด้านอื่นเพิ่มเติมหากไม่พบสาเหตุที่แน่ชัดหรืออาการไม่ชัดเจน เช่น การส่องกล้องทางเดินอาหาร การตรวจการเคลื่อนไหวของหลอดอาหาร การตรวจระบบทางเดินอาหาร เป็นต้น


การรักษาอาการกรดไหลย้อน

การปรับพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตอาจช่วยบรรเทาอาการให้ดีขึ้นได้ เช่น รับประทานอาหารในปริมาณที่พอดี ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ และไม่ควรเข้านอนทันทีหลังรับประทานอาหาร

นอกจากนี้ ในบางรายอาจจำเป็นต้องใช้ยาร่วมด้วย เช่น กลุ่มยาลดกรด กลุ่มยา H2 Blockers และกลุ่มยาโปรตอน ปั๊ม อินฮิบิเตอร์ (Proton Pump Inhibitors) ซึ่งก็มีทั้งยาแบบที่ผู้ป่วยหาซื้อได้เอง และแบบที่ต้องใช้ภายใต้การดูแลจากแพทย์เท่านั้น โดยแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาชนิดของยาตามความเหมาะสม

ทั้งนี้ หากการรักษาด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน และการใช้ยาไม่ได้ผล แพทย์อาจพิจารณาวิธีการรักษาด้วยการผ่าตัดซ่อมแซมกล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหาร หรือในกรณีที่ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก แพทย์ก็อาจพิจารณาผ่าตัดเพื่อลดความอ้วนร่วมด้วย


ภาวะแทรกซ้อนของกรดไหลย้อน

ภาวะกรดไหลย้อนมักส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เนื่องจากฤทธิ์ของกรดได้สร้างความระคายเคืองแก่หลอดอาหารไปถึงอวัยวะบริเวณทางเดินหายใจ ทำให้กลืนอาหารได้ลำบาก รู้สึกเจ็บ หรือมีเลือดออกในหลอดอาหาร รวมทั้งอาจเกิดภาวะหลอดอาหารตีบตัน อาจกระตุ้นให้เกิดอาการหอบหืด ไอเรื้อรัง อีกทั้งยังมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งหลอดอาหาร เนื่องจากเกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์บริเวณหลอดอาหาร แต่ในปัจจุบันยังคงพบได้น้อยราย


การป้องกันอาการกรดไหลย้อน

ปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารให้ตรงเวลา พยายามหลีกเลี่ยงปัจจัยในชีวิตประจำวันที่ไปกระตุ้นให้เกิดภาวะนี้มากที่สุด รวมไปถึงการดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอาจช่วยลดโอกาสการเกิดภาวะกรดไหลย้อนให้น้อยลงได้ 

 

ลงประกาศฟรี โฆษณาฟรี ลงประกาศขายบ้านฟรี ลงประกาศขายบ้าน ขายที่ดิน ขายคอนโด ขายรถ สินค้าอุตสาหกรรม อาหารเสริม เครื่องสำอางค์ แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว โปรโมทสินค้าฟรี เว็บประกาศฟรี ติดอันดับ Google