ผู้เขียน หัวข้อ: บริหารจัดการอาคาร: น้ำยาแอร์หมด น้ำยาแอร์รั่ว? มีอาการและวิธีแก้ยังไงมาดูกัน  (อ่าน 73 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 506
    • ดูรายละเอียด
บริหารจัดการอาคาร: น้ำยาแอร์หมด น้ำยาแอร์รั่ว? มีอาการและวิธีแก้ยังไงมาดูกัน

    การทำงานของแอร์เป็นระบบปิด สารทำความเย็นอย่างน้ำยาแอร์จึงไม่มีวันหมด นอกจากจะเกิดจุดรั่วไหลตามส่วนต่าง ๆ ของแอร์ ที่ทำให้น้ำยาแอร์ระเหยไปจนหมด ส่งผลให้เปิดแอร์แล้วไม่เย็นนั่นเอง
    น้ำยาแอร์หมดยังคงสามารถเปิดแอร์ได้ แต่แอร์จะไม่เย็นและมีแต่ลม เพราะขาดสารทำความเย็นหมุนเวียนในระบบ รวมถึงแอร์และคอมเพรสเซอร์จะทำงานหนัก แต่ไม่เต็มประสิทธิภาพ และเปลืองไฟ

เคยได้ยินไหมว่า “น้ำยาแอร์ไม่มีวันหมด” แต่ที่เห็นว่า “น้ำยาแอร์หมด เพราะน้ำยาแอร์รั่ว” นั้นจริงหรือเปล่า วันนี้จะพามาเฉลยข้อสงสัย ว่าตกลงแล้วน้ำยาแอร์หมดหรือน้ำยาแอร์รั่วกันแน่ ด้วยการเช็คอาการด้วยตัวเอง รวมทั้งวิธีแก้ไข ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลย


ทำไมน้ำยาแอร์ไม่มีวันหมด?

สาเหตุที่น้ำยาแอร์ไม่มีวันหมดนั้น เพราะเครื่องปรับอากาศมีการทำงานระบบปิด แม้ว่าจะไม่ได้เปิดแอร์นานแค่ไหน แต่สารทำความเย็นจะไม่ระเหยแห้งออกมาสู่ภายนอกอย่างแน่นอน แต่หากมีจุดรั่วไหลบริเวณท่อสักนิด ก็จะทำให้น้ำยาแอร์หมด เพราะระเหยแห้งไป จนเป็นสาเหตุของอาการแอร์ไม่เย็นนั่นเอง


เช็คอาการด้วยตัวเอง สัญญาณของน้ำยาแอร์รั่ว และหมดลง

แล้วอยากรู้ไหมว่า ที่เปิดแอร์แล้วไม่เย็นอยู่ทุกวันนี้ ใช่น้ำยาแอร์รั่วรึเปล่า วันนี้พามาดู 4 อาการที่ส่อถึงน้ำยาแอร์หมดจากการที่น้ำยาแอร์รั่ว เช็คได้ด้วยตัวเองง่าย ๆ ไปดูกันเลย


1. เปิดแอร์แล้วไม่เย็น

วิธีแรกที่ง่ายที่สุดในการสังเกตอาการน้ำยาแอร์หมด คือ การเปิดแอร์ในอุณหภูมิปกติที่เย็นฉ่ำ แต่แอร์กลับไม่มีลมเย็น หรือกลายเป็นลมอุ่น ๆ อาการนี้อาจเป็นสัญญาบ่งบอกว่าน้ำยาแอร์อาจจะน้อยเกินไป เพราะมีน้ำยาแอร์บางส่วนที่รั่วซึม ระเหยออกไป จนทำให้มีน้ำแข็งมาจับตัวกันอุดตันช่องทางเดินลมของแอร์ แอร์จึงไม่เย็นนั่นเอง


2. เช็คลมคอยล์ร้อน

อีกวิธีในการเช็คอาการน้ำยาแอร์หมดด้วยตัวเอง คือ การตรวจดูตรงคอมเพรสเซอร์แอร์ ลองใช้หลังมืออังบริเวณหน้าพัดลมของคอยล์ร้อนอย่างระมัดระวัง เพราะคอยล์ร้อนช่วยระบายความร้อนออกจากสารทำความเย็น เพื่อเปลี่ยนสถานะจากไอกลับมาเป็นของเหลวอีกครั้ง หากลมออกมาเป็นลมร้อนหรือ อุ่นมาก ๆ แสดงว่าน้ำยาแอร์อยู่ในระดับปกติ แต่ถ้ารู้สึกว่าลมที่ออกมาเป็นลมเย็น ๆ นี่เป็นสัญญาณว่าน้ำยาแอร์อาจจะหมด ต้องรีบหาจุดเพื่ออุดรอยรั่วแล้ว


3.เช็คเสียงคอยล์ร้อน

ลองเช็คเสียงของคอยล์ร้อนบริเวณคอมเพรสเซอร์แอร์ดู หากบริเวณไหนมีรอยรั่ว จะทำให้เกิดเสียงลมอากาศรั่วดังออกมา ถ้าไม่แน่ใจให้ลองหยดน้ำสบู่หรือน้ำยาล้างจานตรงบริเวณนั้น หากมีฟองสบู่เกิดขึ้น ก็เป็นไปได้ว่า จุดนั้นเป็นรอยรั่วที่ทำให้เกิดอาการน้ำยาแอร์หมดนั่นเอง


4. สังเกตน้ำแข็งตามอุปกรณ์แอร์

ขณะเปิดแอร์อยู่ ให้สังเกตบริเวณท่อน้ำยาที่ต่อออกมาจากคอยล์ร้อน หรือตามอุปกรณ์ส่วนอื่น เช่น แผงกรองอากาศ คอยล์เย็น ของแอร์ว่ามีก้อนน้ำแข็งเกาะอยู่หรือไม่ ถ้ามี แสดงว่าอาจมีการรั่วไหลของน้ำยาแอร์ จนทำให้น้ำยาแอร์หมดหรือเหลือน้อยได้ เพราะระดับน้ำยาแอร์ที่ต่ำไป จะทำให้มีน้ำแข็งเกาะนั่นเอง ถ้าเจออาการแบบนี้ต้องรีบติดต่อผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาจุดรั่วของแอร์โดยด่วน

หลังจากลองเช็คอาการน้ำยาแอร์หมด หาตำแหน่งรอยรั่วแล้ว วันนี้พามาไขข้อสงสัย เปิดสาเหตุหลักที่ทำให้น้ำยาแอร์รั่ว มาหาต้นตอกันเถอะ


สาเหตุที่ทำให้น้ำยาแอร์รั่ว


1. การติดตั้งที่ไม่ดี

ปกติในการติดตั้งเครื่องปรับอากาศจะมีรอยต่อมากมายที่ยึดแต่ละส่วนเข้าหากันโดยไม่ได้ใช้วัสดุอื่นมาเชื่อม หากมีการติดตั้งรอยต่อแต่ละจุดไม่ได้มาตรฐาน โดยเฉพาะส่วนที่เชื่อมต่อท่อน้ำยาแอร์ หรือมีบางส่วนที่รั่ว แตก ขันไม่แน่น ก็จะทำให้เกิดการรั่วซึมได้นั่นเอง


2. พื้นที่ติดตั้งแอร์มีกรดรายล้อม

หากบริเวณที่ติดตั้งคอมเพรสเซอร์แอร์อยู่ใกล้กับคลองน้ำเสีย บริเวณน้ำขัง ทะเล หรือบริเวณโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งมีกรดระเหยลอยอยู่ในอากาศ กรดจะส่งผลต่อส่วนประกอบที่เป็นโลหะ โดยเฉพาะแผงคอยล์ ทั้งร้อนและเย็น กัดกร่อนให้ค่อย ๆ บางลง จนเกิดจุดรั่ว และมีอาการน้ำยาแอร์หมดนั่นเอง


3. แอร์เก่าที่ไปต่อไม่ไหว

แอร์ที่ใช้งานมาเป็นระยะเวลานานมาก ๆ คอมเพรสเซอร์หรือคอยล์ร้อน อาจจะเกิดผุกร่อน เพราะพื้นที่ติดตั้งมักจะอยู่นอกห้อง เผชิญทั้งแดด ฝน หรือสารพิษจากอากาศเป็นเวลานาน จึงทำให้เกิดการรั่วของคอมเพรสเซอร์แอร์ และเกิดอาการแอร์รั่วจนน้ำยาแอร์หมดได้ อาจถึงเวลาแล้วที่ต้องเปลี่ยนแอร์ใหม่


4. แรงดันน้ำยาในระบบทำให้ท่อแอร์บาง

น้ำยาแอร์ไหลเวียนในระบบของเครื่องปรับอากาศด้วยแรงดันสูงเป็นระยะเวลานาน ๆ ทำให้ท่อแอร์ด้านในบางลงทีละนิด โดยเฉพาะส่วนที่ท่อแอร์ถูกดัด ยิ่งเสี่ยงต่อการเป็นจุดรั่ว หากช่างผู้ติดตั้งเลือกใช้ท่อน้ำยาแอร์ที่บางเท่าไหร่ ก็จะทำให้รั่วซึมได้ง่ายขึ้น


เท่านี้ ก็คงรู้สาเหตุตัวการที่ทำให้น้ำยาแอร์รั่วจนน้ำยาแอร์หมดกันไปแล้ว จากนั้นเรามาดูวิธีการแก้ไขอาการน้ำยาแอร์หมดและน้ำยาแอร์รั่ว เพื่อให้กลับมาเปิดแอร์ได้เย็นฉ่ำอีกครั้งกัน
2 วิธีการแก้ไขอาการน้ำยาแอร์หมดและน้ำยาแอร์รั่ว


1. ตรวจเช็ครอยรั่ว และให้ผู้เชี่ยวชาญดูแล

เนื่องจากในเครื่องปรับอากาศนั้นมีส่วนประกอบที่ค่อนข้างซับซ้อน ต้องใช้เครื่องมือที่ได้มาตรฐานและความรู้ความชำนาญด้านนี้โดยเฉพาะในการซ่อม เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับตัวแอร์ เราจึงแนะนำให้ติดต่อเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ อุดรูรั่วได้อย่างตรงจุด


2.ล้างแอร์และเติมน้ำยาแอร์บ้าง นาน ๆ ที

เมื่ออุดรูรั่วตามจุดต่าง ๆ ของแอร์เรียบร้อยแล้ว จึงค่อยเติมน้ำยาแอร์เข้าไปใหม่ เพราะเมื่อแอร์ไม่มีจุดที่ทำให้เกิดการรั่วไหล ก็จะหมดปัญหาน้ำยาแอร์หมด และอย่าลืมหมั่นดูแลทำความสะอาดแอร์บ่อย ๆ เพื่อให้เปิดแอร์ได้เย็นฉ่ำ ไม่มีคราบสกปรกไปอุดตันด้วยล่ะ


คำถามที่น่ารู้เกี่ยวกับน้ำยาแอร์

1. น้ำยาแอร์บ้านกี่ปีหมด?

เนื่องจากแอร์เป็นระบบปิด หากไม่มีส่วนไหนของแอร์ที่รั่วไหล น้ำยาแอร์ก็จะไม่ระเหยและไม่มีวันหมดนั่นเอง แต่แอร์มักจะเกิดการรั่วตามรอยต่อต่าง ๆ เมื่อมีการใช้งานไปนาน ๆ ระยะเวลาที่เหมาะสมในการเติมน้ำยาแอร์คือ 5 ปี หลังจากการติดตั้ง และจะต้องตรวจเช็ครอยรั่วด้วยอย่างสม่ำเสมอ


2. ถ้าน้ำยาแอร์หมดนานจะเป็นอะไรไหม?

การที่น้ำยาแอร์หมดจากการที่เกิดรอยรั่ว จะทำให้เปิดแอร์เท่าไหร่ แอร์ก็ไม่เย็นแถมมีแต่ลม อีกทั้งเครื่องปรับอากาศยังทำงานหนักขึ้น ส่งผลเสียต่อคอมเพรสเซอร์ กินไฟมากขึ้น ค่าไฟที่ต้องจ่ายรายเดือนก็แพงขึ้นโดยใช่เหตุ ถ้าจะให้ดี รีบจัดการอุดรอยรั่วแล้วเติมน้ำยาแอร์จะดีที่สุด


3. น้ำยาแอร์ต้องเติมตลอดไหม?

หลังจากการติดตั้งไปแล้ว 5 ปี ก็ควรที่จะตรวจเช็คสภาพแอร์ หารอยรั่วและเติมน้ำยาแอร์ เพราะเป็นระยะเวลาที่ใช้งานไปสักระยะแล้ว แต่โดยปกติน้ำยาแอร์ไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นต้องเติมตลอด แม้กระทั่งหลังล้างแอร์ รู้ให้ทันกลลวงสุดแสบของช่างแอร์ ถ้าแอร์ไม่รั่ว ก็ไม่ต้องเติมน้ำยาแอร์สักหน่อย


4. น้ำยาแอร์หมด เปิดแอร์ได้ไหม?

เมื่อน้ำยาแอร์หมด ก็ยังสามารถเปิดแอร์ได้ แต่จะไม่ได้สัมผัสไอเย็นของแอร์ เพราะเปิดแล้วแอร์ไม่เย็น มีแต่ลม แถมกินไฟมากกว่าปกติที่เปิดแอร์แล้วห้องเย็นฉ่ำอีกต่างหาก เพราะแอร์และคอมเพรสเซอร์ทำงานหนักขึ้นนั่นเอง


สรุป

ไขข้อสงสัยกันไปแล้วกับปัญหาน้ำยาแอร์หมด เพราะจริง ๆ แล้วน้ำยาแอร์ไม่มีวันหมด แต่เป็นเพราะแอร์รั่วต่างหาก รู้ให้ทันช่างแอร์ แก้ไขให้ถูกจุด เท่านี้ก็จะไม่ต้องเสียเงินเติมน้ำยาแอร์บ่อย ๆ แต่เปิดแอร์เย็นฉ่ำได้เหมือนเดิมแล้วนั่นเอง

 

ลงประกาศฟรี โฆษณาฟรี ลงประกาศขายบ้านฟรี ลงประกาศขายบ้าน ขายที่ดิน ขายคอนโด ขายรถ สินค้าอุตสาหกรรม อาหารเสริม เครื่องสำอางค์ แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว โปรโมทสินค้าฟรี เว็บประกาศฟรี ติดอันดับ Google