ผู้เขียน หัวข้อ: สอนสร้างแบรนด์: ข้อดี- ข้อเสียของการสร้างแบรนด์ของตัวเอง  (อ่าน 436 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 505
    • ดูรายละเอียด
 เป็นการสร้างธุรกิจหรือผลิตสินค้าของตัวเอง ที่ไม่ขึ้นตรงกับแบรนด์สินค้าอื่น และไม่ใช่ตัวแทนขายสินค้า ด้วยการที่ยุคนี้เป็นยุคเทคโนโลยีและยุคของการทำธุรกิจ จึงทำให้มีแบรนด์สินค้าที่เป็นของตัวเองถือกำเนิดขึ้นมามากมาย กลายเป็นช่องทางในการทำธุรกิจสุดฮิต ที่ไม่ว่าใครก็อยากจะลองทำ และในปัจจุบันการทำแบรนด์ของตัวเองก็กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะการทำแบรนด์เป็นของตัวเองไม่ได้ทำยากอย่างที่ใครหลายคนคิด


ข้อดีของการสร้างแบรนด์ของตัวเอง

1.ได้มีแบรนด์เป็นของตัวเอง ซึ่งการมีแบรนด์เป็นของตัวเองก็จะทำให้ผู้ประกอบการได้รับผลกำไรตอบแทนที่คุ้มค่า มีโอกาสที่จะทำให้เติบโตได้

2.เป็นการเปิดตลาดการค้า ถ้าหากว่าแบรนด์ของผู้ประกอบการเป็นที่รู้จักของลูกค้า สินค้ามีคุณภาพ ก็จะทำให้ธุรกิจดีขึ้นเรื่อยๆ อีกทั้งยังเป็นการเปิดตลาดให้สินค้าออกสู่ตลาดมากยิ่งขึ้น

3.ได้บริหารจัดการด้วยตัวเอง เพราะจะได้บริหารเงินทุน การทำการตลาด การโปรโมท ทำให้ได้ประสบการณ์ในการบริหารจัดการเพิ่มมากขึ้น

4.มีโอกาสประสบความสำเร็จ หากว่าแบรนด์สินค้าติดตลาด มีคนใช้เยอะ ก็จะทำให้ผลกำไรที่ได้รับนั้นเพิ่มพูนขึ้นเรื่อยๆ


ข้อเสียของการทำแบรนด์ของตัวเอง

1.ใช้ต้นทุนสูง เพราะว่าผู้ประกอบการจะต้องลงทุนตั้งแต่การผลิตการทำการตลาด การโปรโมท การจัดส่งสินค้า เป็นต้น

2.มีโอกาสขาดทุน สืบต่อเนื่องมาจากต้นทุนในการผลิตหากว่าใช้ต้นทุนในการผลิตที่สูงแล้วแบรนด์สินค้าไม่ได้รับความนิยมหรือขายสินค้าไม่ได้ โอกาสขาดทุนก็ย่อมจะมีสูง

3.ประสบความสำเร็จช้า ในกรณีที่ผู้ประกอบการไม่มีเงินทุน ไม่มีการทำการตลาดหรือการโปรโมทที่ดีพอ ก็จะส่งผลถึงแบรนด์สินค้าที่อาจจะประสบความสำเร็จช้ากว่าที่คาดหวัง

4.ต้องระวังในเรื่องของข้อกฎหมาย เพราะการขายสินค้าในปัจจุบันจะต้องดีมีคุณภาพและมีมาตรฐาน ถ้าเกิดว่าสินค้าไม่มีคุณภาพและไม่มีมาตรฐาน อาจจะถูกลูกค้าฟ้องร้องเอาได้

แม้หลายคนจะรู้แล้วว่าการสร้างแบรนด์ของตัวเองนั้นมีข้อดี-ข้อเสียอะไรบ้าง แต่ก็อาจจะยังเกิดคำถามขึ้นว่าแล้วหากเทียบกับการทำธุรกิจแบบซื้อมาขายไปล่ะ แบบไหนดีกว่ากัน? ซึ่งต้องบอกเลยว่าทั้ง 2 แบบนั้นมีทั้งข้อดีและข้อเสียทั้งคู่ ขึ้นอยู่ความต้องการหรือเป้าหมายในการทำธุรกิจ รวมถึงเงินลงทุนของแต่ละคนมากกว่า โดยการสร้างแบรนด์ตัวเองจะเป็นการลงทุนในระยะยาว จำเป็นต้องใช้เวลาและเงินลงทุนที่สูง ส่วนการซื้อมาขายไปนั้นจะสามารถเริ่มต้นได้ง่ายและใช้เงินลงทุนที่น้อยกว่า

การซื้อมาขายไปสามารถแบ่งได้หลายประเภท เช่น การรับหรือนำเข้าสินค้ามาขายต่อ การเป็นตัวแทนจำหน่ายสต๊อกสินค้า การเป็นตัวแทนจำหน่ายไม่สต๊อกสินค้า หรือการทำ Dropship ซึ่งแต่ละประเภทก็จะมีรูปแบบที่แตกต่างกันไป

ขั้นตอนและวิธีสร้างแบรนด์ตัวเอง มีอะไรบ้าง?

1.หาสินค้าที่ต้องการจะขาย

ขั้นตอนนี้ถือว่าเป็นขั้นตอนการสร้างแบรนด์ของตัวเองที่สำคัญที่สุด โดยผู้ประกอบการจะต้องเลือกสินค้าที่จะมาขายให้ได้ โดยวิธีการเลือก อาจจะเลือกจากความชอบส่วนตัว เลือกจากสินค้าที่ได้รับความนิยม เลือกจากการใช้สินค้าที่เคยใช้อยู่เป็นประจำ หรืออาจจะเลือกสินค้าจากประสบการณ์ที่เคยเป็นตัวแทนขายมาก่อนก็ได้



2.ศึกษาตลาดให้ดี

เมื่อผู้ประกอบการได้สินค้าที่ต้องการจะนำมาขายแล้ว วิธีทำแบรนด์ของตัวเองในขั้นตอนต่อมาคือการศึกษาตลาดว่าในช่วงเวลานี้สินค้าที่กำลังจะนำมาขาย เป็นที่นิยมอยู่ในท้องตลาดและเป็นที่ต้องการของตลาดหรือไม่ แนวโน้มว่าจะได้รับความนิยมต่อไปอย่างยาวนานหรือตกยุค ในเรื่องนี้ท่านจะต้องศึกษาให้ดี เพราะมีผลต่อการทำแบรนด์ของตัวเองเป็นอย่างมาก


3.วางแผนในเรื่องการเงิน

เรื่องของการวางแผนทางการเงินนั้นก็ถือว่าเป็นปัจจัยหลักในวิธีสร้างแบรนด์ของตัวเอง เพราะจะทำให้ผู้ประกอบการได้รู้ว่าลิมิตของตัวเองมีเงินอยู่เท่าไหร่ ต้องใช้ทุนในการสร้างแบรนด์เท่าไหนถึงจะเพียงพอต่อความต้องการ นอกจากนี้ยังต้องวางแผนในเรื่องของการลงทุนเกี่ยวกับการทำการตลาดการโปรโมท การบริหารจัดการก็สำคัญ เพราะในขั้นตอนต่างๆเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ต้องใช้ปัจจัยในเรื่องการเงินทั้งสิ้น


4.หาเงินทุนเพิ่มเติม

การทำแบรนด์ของตัวเองอาจจะต้องใช้เงินทุนที่ค่อนข้างสูง หาแหล่งเงินทุนเพิ่มเติมจึงทำให้ผู้ประกอบการไม่ต้องแบกรับค่าใช้จ่ายมากจนเกินไป นอกจากนี้ในอนาคตอาจจะมีการลงทุนเพื่อขยับขยายสาขา ขยายแบรนด์สินค้าหรืออาจมีการเพิ่มจำนวนการผลิตให้มากขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดก็เป็นได้


5.หาโรงงานผลิตที่มีคุณภาพ

สำหรับใครที่อยากสร้างแบรนด์เป็นของตัวเอง จะต้องมีโรงงานผลิตที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐานสากล เพราะจะทำให้สินค้าที่ผลิตออกมามีคุณภาพและเป็นที่ต้องการของตลาด สำหรับการเลือกโรงงานผลิตนั้นควรเลือกที่โรงงานที่มีใบรับรองตามมาตรฐานสากลอย่างเช่น GMP  HACCP Halal เป็นต้น ซึ่งโรงงานผลิตเพื่อทำแบรนด์สินค้าของตัวเองที่ได้รับความนิยม ก็จะมีโรงงานรับผลิตสินค้า OEM และโรงงานผลิตสินค้า ODM เป็นต้น


6.ลองใช้ผลิตภัณฑ์ของตัวเอง

ก่อนที่จะนำสินค้าออกสู่ตลาดหรือนำไปให้ลูกค้าได้ใช้งาน ควรจะมีการทดลองใช้สินค้าก่อนว่าสินค้านั้นมีคุณภาพดีหรือไม่ ถ้าหากว่านำไปใช้งานหรือบริโภคจะมีผลข้างเคียงหรือเปล่า เมื่อลองใช้แล้วปรากฏว่าสินค้าดีจริง ใช้งานได้จริงหรือเห็นผลได้ไว ก็เหมาะสมที่จะนำออกมาขายหรือนำออกมาเผยแพร่ให้กับลูกค้าได้รู้จักต่อไป


7.ออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้แตกต่าง

เรื่องนี้ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญในการทำแบรนด์ตัวเองเพื่อให้ติดตลาดและเป็นที่นิยมของลูกค้ามากขึ้น ถ้าหากว่าสามารถออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีความแตกต่างจากสินค้าอื่น ก็จะทำให้สินค้านั้นโดดเด่นไม่เหมือนใคร ลูกค้าจำง่ายมากขึ้น และก็อาจจะส่งผลให้สินค้านั้นขายดิบขายดี แซงหน้าแบรนด์อื่นๆขึ้นไปได้แบบง่ายๆ


8.หาช่องทางการโปรโมทและขาย

ในปัจจุบันมีช่องทางการเผยแพร่ผลิตภัณฑ์รวมไปถึงช่องทางการขายสินค้าต่างๆมากมาย ไม่ได้มีการขายจากหน้าร้านเพียงอย่างเดียวเหมือนในอดีต ดังนั้นผู้ประกอบการที่เพิ่งเริ่มต้นทำแบรนด์ของตัวเอง จึงควรต้องให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ ควรจะหาช่องทางต่างๆเพื่อเผยแพร่และขายสินค้า โดยอาจจะสอบถามช่องทางจากผู้ประกอบการคนอื่นที่ประสบความสำเร็จได้


9.วางระบบจัดการออเดอร์และสต๊อกสินค้า

อีกหนึ่งขั้นตอนของการสร้างแบรนด์ตัวเองที่ไม่ควรมองข้าม ก็คือการวางระบบจัดการออเดอร์และสต๊อกสินค้า เพื่อให้การจัดการคำสั่งซื้อ และสินค้าในสต๊อกเป็นไปอย่างราบรื่น มีการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ ช่วยให้เมื่อมีออเดอร์สินค้าเข้ามา ร้านค้าจะสามารถเช็คจำนวนสินค้าที่มีสต๊อก ทำการยืนยันออเดอร์และตัดสต๊อกได้ทันที เพราะข้อมูลต่างๆ มีการเชื่อมต่อกัน ทำให้การทำงานมีความสะดวกรวดเร็ว และแม่นยำมากยิ่งขึ้น


สอนสร้างแบรนด์: ข้อดี- ข้อเสียของการสร้างแบรนด์ของตัวเอง อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://businesssmarttools.com/

 

ลงประกาศฟรี โฆษณาฟรี ลงประกาศขายบ้านฟรี ลงประกาศขายบ้าน ขายที่ดิน ขายคอนโด ขายรถ สินค้าอุตสาหกรรม อาหารเสริม เครื่องสำอางค์ แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว โปรโมทสินค้าฟรี เว็บประกาศฟรี ติดอันดับ Google